Popular Posts

Friday 21 December 2012

Doomm...doomm...

Ddoom passed..fiscal cliff passed...
sugar survived..









Monday 19 November 2012

Cute..London







Monday 22 October 2012

Dhama Bhddha


22 Oct 12 กฐินพระราชทานกรมการพัฒนาชุมชน
            
รายละเอียดตามไฟล์แนบ
  Attachment : Copy of ป้ายกฐินพระราชทาน3x8m.jpgประวัติ.docป้ายกฐินพระราชทาน3x8m.jpg (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นายศิริพงษ์ ทรัพย์บุญรอด  [สำนักงานเลขานุการกรม กรมการพัฒนาชุมชน] - 22 Oct 12 16:50


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ประจำปี 2555
ให้กรมการพัฒนาชุมชน น้อมนำไปถวายแด่พระสงฆ์จำพรรษาถ้วนไตรมาส
 ณ พระอารามหลวงวัดประดู่ ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน ๒๕๕5 เวลา 10.00 น.
วันอังคารที่ ๑3 พฤศจิกายน ๒๕๕5 เวลา ๑๗.0๐ น. พิธีสมโภชองค์พระกฐินพระราชทาน ณ หอฉันท์

 







วัดประดู่
ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม   วัดประดู่เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย    ราวพุทธศักราช 2320 หลักฐานจากอุโบสถหลังเก่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยา แต่ได้รื้อไปแล้ว เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์วัดหนึ่งในแม่กลอง หน้าวัดมีต้นประดู่ใหญ่   ต้นหนึ่ง และคลองหน้าวัด คือ คลองประดู่ ตามหลักฐานบันทึกที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้น เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จประพาสต้นทางชลมารคมายังวัดประดู่ พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาต่อหลวงปู่แจ้ง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พระองค์ได้ทรงอาราธนา   หลวงปู่แจ้งเข้าไปในพระราชวังและได้ถวายเครื่องราช ศรัทธากับหลวงปู่แจ้ง เช่น เรือพร้อมเก๋งพระที่นั่ง 4 แจว พระแท่นบรรทม ตาลปัตรพัดรองนามาภิไธยย่อ จ.ป.ร.และตาลปัตรพัดรองนารายณ์ทรงครุฑพร้อมปลอกหนังสำหรับคลุมตู้เล็กและตู้ทึบ ปิ่นโต สลกบาตรพร้อมฝาบาตร ไม้ฝังมุกอักษรย่อ ส.พ.ป.ม.จซึ่งย่อมาจากคำว่า สมเด็จ    พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์



ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล

 









และในปัจจุบัน พระมหาสุรศักดิ์ อติสกโข เป็นเจ้าอาวาส ได้พัฒนาวัดและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดประดู่ อีกทั้งท่านยังเป็นผู้ที่คิดค้นประติมากรรมชิ้นแรกที่ใช้ดินสอพองของไทยมา ปั้นเป็นหุ่นรูปเหมือนดังเช่น        รูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส รูปเหมือนแฝดสยามอินจัน     รูปนิมิตผีบ้านผีเรือน แม่นาค แม่ย่านาง ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ รูปปั้นครูเอื้อ สุนทรสนาน (สุนทราภรณ์) และรูปปั้น     คุณปู่ใหญ่ ยังมีสุข (กรรมการวัดที่มีดำริสร้างพระอุโบสถและกุฏิหลังใหม่) 

สถานที่และสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดประดู่ 
1. อุโบสถหลวงพ่อใหญ่ 
2. พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธารัชกาลที่ 5 
3. พระตำหนักสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จ   
    พระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก 
4. ภาพจิตรกรรมเพดานเขียนด้วยสีฝุ่นสมัยรัชกาลที่ 2
5. เก๋งเรือพระราชทานรัชกาลที่ 5 
6. ศูนย์สาธิตศิลปะการทำหัวโขนและเศียรครู 
7. ต้นสะเดาประวัติศาสตร์
8. บ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ 
9. หุ่นปั้นรูปเหมือนด้วยดินสอพอง ฯลฯ



Sunday 1 July 2012

Life



Somewhere in my Heart











อากาศนั้นมันเปลี่ยนแปลง

เพราะว่าวันนี้เขาจะเตะบอลรอบชิงอีกแล้ว และไม่มีอะไรแน่นอนกับลูกกลมๆ แัวหนามละชีวิตชีวา เพราะทีมแกร่งที่เฝ้าติดตามก็ถูกหัวหนาม โหม่งเข้าไป ทั้งยังเตะซ้ำ น่าอนาถ ไม่อยากจะดู เรียกว่าสามารถเฉพาะตัว ถล่มทีมยอดเยี่ยมของโลกไปได้ ทำให้เกิดผิดหวังซ้ำซ้อนไปหลายเรื่องหลายราว นับเอกชนนั้น มันต่างกันราวฟ้ากับเหว ว่าคลุมเคลือจริงๆ ตั้งแต่ประเด็นบ้าบอเรื่องการผูกขาดสิทธิ์การจัดรายการถ่ายทอดสด และอากาศอึมครึมและเรื่องราวมัวซัวหลายเรื่อง
ปัญหาหลายเรื่องในการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอก้วยการทำนาบนหลังคนนั้นก็มาก ชน เนื่องจาก การขับเคลื่อนงานในการหวังผลมันต่างกัน หวังผลกำไรมหาศาลด้วยการทำนาบนหลังคนนั้นก็มาก  ส่วนบางผู้คนในภาครัฐที่ใช้งบประมาณไปในทางมิชอบก็มิใช่น้อย เนื่องจากฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายป้องปรามทุจริตแลฝ่ายดูแลแรงงานไม่สามารถสร้างแรงจูงใจและค่านิยม ให้ภาครัฐให้มีรายได้สูงกว่าภาคเอกชนที่อยู่ในตลาดทุนและบรรดานายหน้าขบวนการเทรดเดอร์ทั้งหลาย เงินทองของประเทศจึงไปกองกระจุกกันแต่ในตลาดหลักทรัพย์วันนึงเทรดกันเป็นหมื่นล้านแสนล้าน แต่พวกแรงงานได้ค่าแรงน้อยนิด ข้าวของก็แพงหูฉี่ พวกที่ดูค่าแรงงานอาชีพมีฝีมือไร้ฝีมือเห็นคำนวนเป็นตัวเงินค่าเงินต่ำรายได้คิดเป็นชั่วโม
นาทีไปโน่นเพียงขอฝให้ได้มีประกาศนียบัตรหรือสอบได้มาตรฐานทั้งภาษษและวิชาชีพของประเทศนั้นๆ พวกพลเมืองท้องถิ่นในประเทศ ทั้งเกลียดชังรังเกียจพวกอิมมิเกรชั้น ที่แห่แหนกันมาใช้สวัสดิการของประเทศที่แสนเจริญ ที่ทำงานเสียภาษาีกันครึ่งหนึ่งของรายได้ สมมุติรายได้เดือนละล้านเสียภาษีสักห้าแสนอะไรอย่างนี้
ประเทศที่เจริญทางตะวันตกกับตะวันออกนั้นเขาจะมีรายได้สูงจากการฝึกให้ประชาชนพลเมืองมีโอกาสในการคิดและค้าขาย มีโอกาศมีตลาดแบบรัฐช่วยสุดตีน อะไรแบบนี้ ฟังลูกมา
พวกนักคิดนักสร้างทั้งสายวิทย์สายศิลปสายอาชีพ ระดมกันคิดแบบที่มีค่าตัวค่าคิดคุ้มค่า ให้ภาคอุตสาหกรรมเอาไปทำนวัตกรรมติดยี่ห้อของตัวเองขายมันทั่วโลก
ซึ่งสำหรับงานที่ไม่ใช่งานค้าขายโดยตรงก็ต้องมีนักคิด ไอ้พวกนักคิดนักยุทธศาสตร์มักจะปราดเปรื่อง แต่คิดให้คนอื่นเขาทำ เพราะความที่ความสามารถมันต่างกัน ดังนั้นนักจิตวิทยาเขาเลยต้องมีแอดติจูดเทสมาวัดความถนัดกัน บางคนคิดเป็นกิจลักษณะแบบนักวิชาการ แต่ไม่สามารถทำตามได้ให้ประสบผลตามเป้ายุทธศาสตร์ แต่บางคนเขาเป็นพวกไดเร็คเตอรกับเอ็กพลอเรอร ไอ้พวกนี้บ้าระห่ำ หวังผลสำเร็จลูกเดียว บางทีจริยธรรมก็หย่อนไปมั่ง เพราะเอาว่าให้ดครงการมันขับเคลื่อนไปให้เร็วที่สุด พวกนี้จะ ใช้แรงจูงใจอย่างสูงผลักดันทั้งคนและโครงการให้ขับเคลื่อนไปตามนโยบาย ลกเสียหน่อย  ส่วนพวกนักวิชาการมักไม่มีอำนาจการตัดสินใจ ไม่ฟันธง เฟ้นหาข้อมูลอยู่นั่นแล้ว แต่เหตุผลหรือจะมาสู้ผลสำเร็จภาพรวมได้ อะไรที่ประโยชน์ดีงามวิเศษอย่างไร ก็จงรอไปเถอะหากมันยังไม่ใช่ความลงตัวของความสำเร็จของนโยบายนั้นๆ เป็นเช่นนี้ไปทั่วโลก

วิกฤตของสภาพภูมิอากาศทั่วโลกทำให้เกิดความกลัวว่าเพื่อร่วมดลกร่วมเทคโนโลยีคงใกล้ตายกันหมดแล้ว ก่อนตายควรฝ่าพายุหิมะหรือพายุมรสุมหรือพายุทะเลทราย หรือพายุคลื่นความร้อน ไปหาเพื่อนหรือไปเยี่ยมคนอีกซีกโลกเสียหน่อย หรือแสวงหาแลกเปลี่ยนให้ความรู้เทคโนโลยีให้เขาได้เก่งกาจสามารถบ้าง จะได้พัฒนาประเทศไม่ต้องอพยพไปเป็นอิมมิเกรชั่นด้วยสารพัดวิธีเพื่อค่าแรงที่สูงกว่า เป็นเสียเช่นนี้ ประเทศไหนที่มีช่องว่างทางสังคมและรายได้สูง พวกนี้ จะแบ่งผู้มีอันจะกินออกชัดด้วยนโยบายภาครัฐที่ไม่สนใจสิทธิมนุษยชน เช่นคนรวยต้องอยู่ภาคเอกชนและมีชีวิตได้ด้วยการผูกขาดสัมปทาน หรือขายขาดอยู่เจ้าเดี่ยว และภาครัฐต้องมีแต่คนจนเท่านั้น เพราะพวกรายได้ต้ำกว่าพวกที่ค้าขายในตลาดหลักทรัพย์ พวกนี้อยู่ได้ด้วยเงินจากงบประมาณโครงการต่างๆที่มาจากภายนอกและภายในประเทศ เงินเดือนไม่ใช้ ใช้ผ่อนบ้านรถเลี้ยงครอบครัวร้อยแปด หรือคอยโกงกินคอรัปชั้นจากส่วนต่างคอมมิชชั้นในการประมูลโครงการหรือการจัดซื้อจัดจ้างสารพัด ไม่รู้ประเทศไหน พวกประเทศที่ปราบคอรัปชั่นเก่งๆ เขาให้ไปศึกษาดูงานจะได้ปราบคอรัปชั่นเก่งอย่างเขาบ้าง ก็ได้แต่ไปแตะพื้นดินบ้านเขา ไม่สามการโกงหรือกฏสารพัดที่เกียวเนื่องเชยไปหมดทั้งบทกำหนดโทษ ค่าปรับ วิธีการทันสมัย การป้องกันทางเทคโนดลยีสารพัด ารถเอามาใช้ได้จริง เพราะเรื่องพวกนี้ต้องปราบทั้งภาครัฐและภาคเอกชน คนกลัวไม่กล้า ไม่ใช่กฏหมายปราบ

เอาเป็นว่าชีวิตดิ้้นไป  มีรักเหมือนมีทุกข์ รักประเทศแต่ก็เบื่อคน รู้สึกว่าเราไม่เจริญทั่วกัน การกระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ คน และเงิน เหมือนเป็นเรื่องโกหก เจริญแต่เขตปกครองพิเศษ พวกบ้านนอก ไม่มีความเจริญ พวกหมู่บ้านจัดสรรล้อมรั้วหมู่บ้านตนเอ งประหนึ่งแยกตัวจากอำนาจรัฐ สามารถปกครองตนเองได้ มีการบริหารจัดการประหนึ่งมีนายกเทศมนตรีเป็นของตนเอง แต่กินเงินรายได้จากบริษัทมหาชนด้านอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดทุน กินกำไรมหาศาล ซื้อที่ดินถูกๆ ปลูกบ้านไม่สมราคา แทนที่ชาวบ้านจะมีปัญญาปลูกบ้านถูกๆอยู่เองต้องมาจ่ายเงินให้ดอกเบี้ยธนาคารไปคนละยี่สิบปีสามสิบปี ขอให้ผู้ถือหุ้นที่มันกินกำไรกำไรปันผลพวกนี้จงฉิบหาย รวยแค่ชาตินี้ก็พอแล้ว ชาติหน้าให้เกิดมาเป็นเห็บเกาะบนหลังควาย ที่อยู่ในทุ่งนาทุ่งเกษตรกรรมทุ่งกสิกรรม เพราะชาวนาชาวสวนชาวปศุสัตว์ต้องขายที่ให้พวกบ้านจัดสรรที่มาแออัดกันอยู่ในเมือง เพราะในชนบทหางานรายได้สูงไม่ได้ ไม่มีใครไปลงทุนในชนบทให้เกิดเงินเกิดรายได้ บางประเทศมาหาขายความคิดให้คนจากนอกประเทศนอกเมืองเดินทางไปซื้อของพื้นเมืองในพื้นที่ แต่พวกทำงานนวัตกรรมอุตาสาหกรรมหรืองานพวก เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหลายภาครัฐจะสนับสนุนทุกมิติให้คนมันทำเงินด้วยความคิดของมัน มียี่ห้อของตัวเองเติบใหญ่ส่งขายไปทั่วดลก เน้นเทคโนโลยี วืทยาศาสตร์ศิลปะการตลาด ยำมันเข้าไป ให้คนของประเทศมีรายได้ ไม่ต้องกระเสือกกระสนย้ายถิ่นฐานมาในเเมืองหรืออกไปนอกประเทศ อะไรแบบนี้ ยิ่งใกล้จะรวมเผ่าชาวอาเซี่ยนแล้ว ยิ่งต้องมีแผนพร้อมขับเคลื่อน เงินไม่มีคิดอะไรก็มักจะบื้อ ของธรรมดา มีหนี้มีเครดิตไม่มีรายได้ก็น็อคเหมือนกัน ความรักมันกินไม่ได้จริงๆ พอได้ประเทืองอารมณ์และเฟดหายไปดั่งบทกวีหวานๆพอปลอบประโลม โฮ
Sugar day and nice poem...make remind about sweet lovers....all







Spain reach Euro 2012 final after shootout

By Stuart Roach, CNN
June 28, 2012 -- Updated 1216 GMT (2016 HKT)
Spain's Cesc Fabregas scores the decisive penalty past Portugal's Rui Patricio in Donetsk
Spain's Cesc Fabregas scores the decisive penalty past Portugal's Rui Patricio in Donetsk

STORY HIGHLIGHTS
  • Spain become only second team to reach three successive major tournament finals
  • Cesc Fabregas scores winning spot-kick as Spain beat Portugal 4-2 on penalties
  • Portugal striker Cristiano Ronaldo not involved in crucial shootout
  • Spain face Germany or Italy in Sunday's Euro 2012 final
(CNN) -- Spain became only the second team to reach three successive major tournament finals after winning a nail-biting penalty shootout against Portugal following a tense goalless draw in Donetsk on Wednesday.
The 2010 World Cup and 2008 European champions followed West Germany into the history books as Cesc Fabregas fired the decisive penalty in off a post after Bruno Alves had hit the bar for Portugal.
Bizarrely, Portugal's key man Cristiano Ronaldo never even got to take a spot kick as he was saved for Portugal's final penalty, a tactic that backfired horribly.


 

Poem Image hosted by Webshots.com
by birdmydog [URL=http://outdoors.webshots.com/album/583041946IRVNuW][IMG]http://thumb3.webshots.net/t/87/187/4/40/17/2603440170060276623JHNVeq_th.jpg[/IMG][/URL]


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

อีเมลพิมพ์PDF
Article Index
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจสำคัญ
พระเกียรติคุณและพระบรมราชานุสรณ์
ทุกหน้า

พระบรมราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นกษัตริย์พระองค์ที่   แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น  ค่ำ  ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒  เวลา  นาฬิกา ๕๕ นาที  ตรงกับวันที่ มกราคม .๒๔๒๓  เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๔  ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระองค์ ที่   ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนีนาถ๑ ทรงได้รับพระราชทานนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราวุธ”  สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนีตรัสเรียกว่า “ลูกโต”  

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงเครื่องต้นเมื่อครั้งทรงรับพระสุพรรณบัฏทรงกรมเป็น

เมื่อพระชนมายุได้  พรรษา  ในปี ๒๔๓๑ ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ   กรมขุนเทพทวารวดี   ปรากฏพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  เอกอัครมหาบุรุษบรมนราธิราช จุฬาลงกรณ์นาถราชวโรรส มหาสมมตขัตตยพิสุทธิ์  บรมมกุฎสุริยสันตติวงศ์ อดิสัยพงศ์วโรภโตสุชาติคุณสังกาศวิมลรัตน์ ทฤฆชนมสวัสดิขัตติยราชกุมาร มุกสิกนาม ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรมให้ทรงดำรงพระเกียรติยศเป็นชั้นที่  รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร และได้มีพระราชพิธีโสกันต์ในเดือนธันวาคม.๒๔๓๕

การศึกษา

ในขณะทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง พระอาจารย์ภาษาไทย คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)  พระยาอิศรพันธุ์โสภณ(หนู อิศรางกูร  อยุธยา)  และหม่อมเจ้าประภากรในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ส่วนภาษาอังกฤษทรงศึกษาจากนายโรเบิร์ต มอแรนต์  (Robert  Morant)  เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษาเศษสมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ  ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ มีผู้โดยเสด็จฯ คือ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์หม่อมราชวงศ์สิทธิ  สุทัศน์ (นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร)  และพระมนตรีพจนกิจ (เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี  นามเดิม หม่อมราชวงศ์เปีย  มาลากุล)  ผู้ทำหน้าที่พระอภิบาลและถวายพระอักษร


พระตำหนัก North Lodge ณ ถนน Fernbank

เมื่อเสด็จถึงประเทศอังกฤษแล้วได้ประทับที่ไบรตัน (Brigthon) ราวเดือนเศษแล้วจึงเสด็จไปประทับที่นอร์ธ ลอดจ์(North Lodge) ตำบลแอสคอต (Ascot) การศึกษาในระยะนี้เป็นการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน  ที่ประทับ เซอร์ เบซิลทอมสัน (Sir Basil Thomson) ถวายความรู้เบื้องต้น 
ระหว่างประทับอยู่ที่แอสคอต ประเทศอังกฤษนั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารได้สวรรคตเมื่อวันที่  มกราคม .๒๔๓๗  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวารวดี ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแทน  ได้ประกอบพระราชพิธีขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม .๒๔๓๗  ราชองครักษ์ที่ได้ส่งไปประจำพระองค์เฉลิมพระเกียรติยศตามตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร  คือ นายพันโท พระยาราชวัลลภานุสาฐ  (พระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร สมุหพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ นามเดิมอ๊อด ศุภมิตร)  กับนายร้อยเอกหลวงสรสิทธิยานุการ (นายพลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทร์โยธิน  นามเดิมอุ่ม  อินทรโยธิน)
หลังจากนั้นได้ทรงย้ายที่ประทับไปยังบ้านใหม่ชื่อเกรตนี่ (Graitney)  ตำบลแคมเบอร์ลีย์  (Camberley) ใกล้ออลเดอร์ชอต (Aldershot) เมื่อวันที่๑๙ พฤศจิกายน .๒๔๓๙   ที่นั้น นายพันโทชี วี ฮูม (C.V.Hume) เป็นผู้ถวายการสอนวิชาทหาร ส่วนวชาการพลเรือนได้แก่ นายโอลิเวอร์  (Olivier)  ครูชาวอังกฤษและนายบูวิเยร์ (Bouvier) ชาวสวิสเป็นผู้ถวายการสอนภาษาฝรั่งเศส


ต่อมาใน .๒๔๔๐  ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารบกที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ (Royal Military Acadamy, Sandhurst) และทรงย้ายที่ประทับไปอยู่ที่ฟริมลีย์พาร์ค (Frimley Park) เมื่อวันที่๒๑ มิถุนายน .๒๔๔๑  เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแล้วได้ทรงแล้วได้ทรงเข้ารับราชการทหารในกรมทหารในกรมทหารราบเบาเดอรัม (Derham Light Infantry) ที่นอร์ธ แคมป์(Notrh Camp)  ออลเดอร์ชอต  และได้เสด็จไปประจำหน่วยภูเข้าที่   ค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ที่โอคแฮมป์ตัน (Okehampton) ต่อมาอีกเดือนหนึ่งได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนปืนเล็กยาวที่เมืองไฮยท์(Schook of Musketry of Hythe) ทรงได้รับประกาศนียบัตรพิเศษและเหรียญแม่นปืน
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในด้านการทหารแล้วได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และกฎหมายที่ไครสต์ เชิช (Christ Church) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดระหว่าง .๒๔๔๒ ถึง .๒๔๔๔ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยจัดถวายแด่พระราชวงศ์อังกฤษ จึงไม่มีการรับปริญญาบัตร พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์ทรงประวัติศาสตร์ เรื่อง The War 0f the Polish Succession  เสนอต่อมหาวิทยาลัย

ผลการศึกษาของพระองค์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดนั้น นายโคลเซสเตอร์ เวมิส (Colchester Wemys)ซึ่งเป็นพระสหายอาวุโสได้สรุปความเห็นว่า
....พระองค์ทรงได้รับประโยชน์อย่างใหญ่หลวงจากการศึกษาหลายด้านระหว่างที่พำนักในยุโรป ทรงเป็นสุภาพบุรุษ”  อย่างแท้จริง  ถึงว่าจะทรงมีความเป็นกันเองมากที่สุดและไม่ทรงเสแสร้งใดๆ  ทั้งสิ้นก็ตามแต่ก็ไม่เคยทรงลืมหน้าที่อันสูงส่ง ซึ่งชะตากรรมได้บันดาลให้เป็นไป  พระองค์ทรงมีรสนิยมสูงในด้านวรรณกรรม ทรงอ่านหนังสือมาก และสามารถที่จะทรงใช้วิจารณญาณของพระองค์เองเกี่ยวกับการเมืองของโลกปัจจุบัน  เราจะเฝ้าคอยดูอนาคตของพระองค์ด้วยความสนใจยิ่งและเชื่อมั่นว่าจะทรงกระทำประโยชน์แก่ประเทศบ้านเกิดและจะจำความสุขอันยั่งยืนนานมาสู่พระองค์เองได้



ครั้งทรงศึกษา ณ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

บาทหลวงฟรานซิส พาเจท  (Reverend Francis Paget)  คณบดีไครสต์ เชิช ขณะนั้นได้เคยมีหนังสือถึงอัครราชทูตไทยกรุงลอนดอนตอนหนึ่งมีความว่า
....ข้าพเจ้าระลึกเสมอไปดัวยความนิยมในคุณสมบัติสองประการของพระองค์ ประการแรกเกี่ยวกับความตั้งพระทัยแน่วแน่และความรู้สึกที่ถูกต้องในการปฏิบัติพระองค์  มหาวิทยาลัยนี้  และประการที่สองเกี่ยวกับความเข้มแข็งพอที่จะเผชิญโรคร้าย  คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับความสนพระทัยในปัญหาต่างๆ การเข้าพระทัยในประเด็นต่างๆ อย่างรวดเร็วเร็ว ทำให้ข้าพเจ้าหวังว่าพระองค์จะทรงใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางในโอกาสต่อไปข้างหน้า
ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้นได้ทรงพระประชวรด้วยโรคพระอันตะ (ไส้ติ่งอักเสบ มีพระอาการมากต้องทรงรับการผ่าตัดทันที
ในด้านกิจกรรม พระองค์ได้ทรงก่อตั้งสโมสรคอนโมโปลิตัน (Cosmopolitan Society) ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งชุมนุมนิสิต มีการบันเทิง การแลกเปลี่ยนกันอ่านคำตอบวิชา ที่ศึกษาอยู่ นอกจากนี้ยังได้ทรงเข้าเป็นสมาชิกสโมสรบุลลิงตัน(Bullington Club) สโมสรคาร์ดินัล (Cardinal Club) และสโมสรการขี่ม้าด้วย


ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ


เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสประเทศทางยุโรปครั้งแรกใน .๒๔๔๐  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ก็ได้เสด็จจากลอนดอนไปเฝ้ารับเสด็จฯ  ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี หลังจากนั้นยังทรงรับมอบพระราชภาระเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จไปร่วมงานพระราชพิธีฉัตรมงคลสมโภชในโอกาสที่สมเด็จพระราชินีวิคตอเรียเสวยราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในพ.๒๔๔๐  นอกจากนี้ได้เสด็จไปในงานพระราชาภิเษกพระเจ้าอัลฟองโซที่ ๑๓  แห่งสเปน และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่  แห่งอังกฤษ  และพระราชพิธีบรรจุพระศพสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษในพ.๒๔๔๕

เสด็จเยือนประเทศต่างๆ และเสด็จนิวัตกรุงเทพมหานคร



ทรงฉลองพระองค์แบบญี่ปุ่น เมื่อคราวเสด็จประพาสญี่ปุ่น
ในระหว่างปิดภาคเรียนขณะประทับทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษได้เสด็จไปทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศสและทอดพระเนตรกิจการทหารของประเทศในภาคพื้นยุโรปเป็นเนืองนิตย์ ครั้งทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมารได้ทรงย้ายจากประเทศอังกฤษไปประทับที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เสด็จไปเยี่ยมประเทศต่างๆในยุโรป และประเทศอียิปต์ซึ่งเป็นนโยบายที่จะผูกสัมพันธไมตรี  แล้วจึงเสด็จจากกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษเพื่อนิวัตกรุงเทพมหานครตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ  เมื่อวันที่  ตุลาคม .๒๔๔๕  โดยได้เสด็จผ่านประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เสด็จถึงประเทศไทยเมื่อวันที่  ๒๙ มกราคม .๒๔๔๕  

พระราชกิจในประเทศไทย


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารได้ทรงเข้ารับราชการทหารทันทีที่เสด็จกลับ ต่อมาได้ทรงรับพระราชทานพระยศนายพลเอกราชองครักษ์พิเศษและจเรทัพบก  กับทรงเป็นนายพันโทผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ นอกจากนั้นทรงช่วยเหลือกิจการของสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ


ใน .๒๔๔๗  ได้ผนวชตามโบราณราชประเพณี  พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร  พรรษา  ทรงได้รับสมณฉายาจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า        กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  พระราชอุปัธยาจารย์ว่า วชิราวุโธ”  
หลังจากทรงลาสิกขาแล้วได้ประทับ  พระราชวังสราญรมย์ เป็นองค์อุปถัมภกของสยามสมาคม  แลชะทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ระหว่าง .๒๔๔๘  ถึง .๒๔๕๓ ได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือครั้งแรก เมื่อ .๒๔๔๘  และครั้งที่   เมื่อ ..๒๔๕๐  เป็นผลให้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” และ “ลิลิตพายัพ” ทรงใช้พระนามแฝงว่า “หนานแก้วเมืองบูรห์” 
ต่อมาเสด็จไปหัวเมืองปักษ์ใต้ในพ.๒๔๕๒  ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้” ทรงใช้พระนามแฝงว่า “นายแก้ว” นอกจากนี้ได้ทรงมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายหลายฉบับ และก่อนหน้าที่จะทรงขึ้นครองราชย์เพียง - เดือน ก็ได้ทรงรับมอบหมายให้ทรงกำกับราชการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีเสนาบดี  จึงนับว่าทรงมีพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานของประเทศชาติ

เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ


เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตในวันที่ ๒๓ ตุลาคม .๒๔๕๓  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบแทนเมื่อเวลา .๔๕นาฬิกา  ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดเป็น  งาน คือ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระ        ราชมณเทียรเมื่อวันที่  ๑๑พฤศจิกายน .๒๔๕๓  และงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน .๒๔๕๔ 

พระมเหสีและพระราชธิดา


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีหมั้นกับหม่อมวัลลภาเทวี พระราชธิดาในพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  ได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี   เมื่อวันที่  พฤศจิกายน .๒๔๖๓  และทรงประกาศเลิกการพระราชพิธีหมั้นเมื่อวันที่๑๕ มีนาคม .๒๔๖๓  ด้วยเหตุที่พระราชอัธยาศัยมิได้ต้องกัน

ต่อมาไดโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมเจ้าลักษณมีลาวัณ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ  เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๔ และเป็นพระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม .๒๔๖๔  ต่อมาพระนางเธอทรงแยกอยู่ตามลำพัง



ทรงฉายร่วมกับสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์สหรัฐมลายู

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับเปรื่อง  สุจริตกุล   พระสนมเอก และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น พระสุจริตสุดา  เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม .๒๔๖๔ ต่อมาทรงประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับคุณประไพ  สุจริตกุล  ผู้น้อง เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม .๒๔๖๔ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระอินทราณี ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระวราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี  เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน .๒๔๖๕  และเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ในวันที่  มกราคม .๒๔๖๕  แต่ในที่สุดได้โปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี  พระวรราชชายา  เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน .๒๔๖๘ 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าจอมสุวัทนา        (คุณเครือแก้ว  อภัยวงศ์)  เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม .๒๔๖๗  และโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชธิดา คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน .๒๔๖๘

สวรรคต


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวรด้วยโรคทางเดินอาหารขัดข้อง  ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าทรงพระประชวรด้วยโรคพระโลหิตเป็นพิษในอุทรมาตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน .๒๔๖๘  และสวรรคต  พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน  ..๒๔๖๘ เวลา  นาฬิกา ๔๕ นาที  พระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๔๖  เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา

พระเมรุพระบรมศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง


พระราชกรณียกิจสำคัญ

ถึงแม้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีระยะสั้นเพียง ๑๕ ปี เท่านั้นก็ตาม แต่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยหลายด้านซึ่งจะได้นำมากล่าวเพียงสังเขปเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

ด้านการศึกษา

ตามโบราณราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์จะต้องสร้างวัดประจำรัชกาลไว้เป็นอนุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริว่าวัดในประเทศไทยมีจำนวนมากอยู่แล้ว และการสร้างวัดในสมัยก่อนนั้นจุดประสงค์ประการหนึ่งก็เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาจึงสมควรสร้างสถานศึกษาขึ้นโดยตรง
ดังนั้นใน .๒๔๕๓  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินและพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นเป็นโรงเรียนในพระองค์  โดยดำเนินการตามแบบโรงเรียนกินนอน  (Public School) ชั้นดีของประเทศอังกฤษ มีการสอนและอบรมเด็กชายให้เป็นสุภาพบุรุษ ใช้ระบบให้นักเรียนปกครองกันเอง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย” เมื่อ .๒๔๖๙  ให้การศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย
.๒๔๖๑  ทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ เพื่อควบคุมการดำเนินงานการศึกษาของเอกชนให้มีประสิทธิภาพ
.๒๔๖๔  ทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ เพื่อควบคุมการดำเนินงานการศึกษาของเอกชนให้มีประสิทธิภาพ  
.๒๔๖๔  ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น นับเป็นครั้งแรกในประวัติการศึกษาไทยที่ไดมีกฎหมายค้ำประกันความมั่นคงในการจัดการศึกษาในระดับนี้  มีสาระสำคัญ คือบังคับให้เด็กทึกคนที่มีอายุตั้งแต่  ปี บริบูรณ์ เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจนกระทั่งอายุ ๑๔ ปี บริบูรณ์
ในด้านการการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน .๒๔๕๙  นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย จึงอาจกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางรากฐานการศึกษาแผนใหม่ไว้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา

ด้านการศาสนา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร  พรรษา  ทรงรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้หลายเล่ม เช่น “ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร”  และ เทศนาเสือป่า” ซึ่งรวบรวมเรื่องที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาต่างๆ ที่ทรงบรรยายแก่เสือป่าทุกวันเสาร์ต่อจากการบรรยายเรื่องวิชาทหาร
เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงพบพระพุทธรูปโบราณองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัยองค์พระชำรุดมากแต่ส่วนอื่นๆ  ยังดีอยู่ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้นและหล่อองค์พระขึ้นใหม่มีขนาดสูง ๑๒ ศอก  นิ้ว เป็นพระพุทธรูปยืน พระราชทานนามว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทรานิตย์ธรรมโหมภาส มหาวชิราวุธปูชนียบพิตร ประดิษฐานไว้  พระวิหารโถงด้านหน้าของพระปฐมเจดีย์เมื่อ ..๒๔๕๘

ด้านการเศรษฐกิจและการส่งเสริมสินค้าไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าน ให้จัดตั้งคลังออมสิน ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่  เมษายน ..๒๔๕๖  เพื่อให้ราษฎรรู้จักประหยัดเก็บสะสม  ทรัพย์และนำเงินไปฝากไว้อย่างปลอดภัย  ในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นเป็นธนาคารออมสิน  .๒๔๕๙ โปรดเกล้าฯ ให้เลิกการพนันบ่อนเบี้ย ซึ่งเป็นเหตุทำลายความมั่งคงทางเศรษฐกิจของประเทศ

พระองค์ทรงเห็นการณ์ไกลว่าเมื่อประเทศชาติรุ่งเรืองขึ้นในภายหน้าจะต้องมีการก่อสร้างบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ และสถานที่ราชการตามแบบอารยประเทศ  จำเป็นต้องใช้ซีเมนต์เป็นจำนวนมาก ซึ่งวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตซีเมนต์หาได้ในประเทศทั้งสิ้น  จึงทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ขึ้นเมื่อ .๒๔๕๖

ด้านการส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหัตถศิลป์ไทย  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฤดูหนาวในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  บางปีได้จัดขึ้นที่สนามเสือป่า วัดเบญจมบพิตร สวนสราญรมย์ และท้ายที่สุดได้โปรดเกล้าฯ ให้เตรียมงานแสดงสินค้าและผลิตผลในด้านอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ใน .๒๔๖๘  เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติ และเผยแพร่ให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจสินค้าไทยพระราชทานนามว่า “งานสยามพิพิธภัณฑ์” แต่งานต้องเลิกล้มไปเพราะเสด็จสวรรคต  สถานที่จัดงาน คือสวนลุมพินีในปัจจุบัน  เป็นที่ดินส่วนพระองค์ได้พระราชทานให้เป็นสมบัติของชาติ  เพื่อใช้เป็นสวนสาธารณะเมื่อ .๒๔๖๘ 

ด้านการคมนาคม

ได้ทรงปรับปรุงและขยายกิจการรถไฟตั้งแต่ .๒๔๖๐   เป็นต้นมา  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้รวมกรมรถไฟซึ่งเคยแยกเป็น  กรม เข้าเป็นกรมเดียวเรียกว่า “กรมรถไฟหลวง”  การเจาะอุโมงค์รถไฟยาวที่สุดลอดเขาขุนตานก็เป็นผลสำเร็จในรัชกาลนี้ได้เริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ ทรงเปิดรถด่วนระหว่างประเทศสายใต้ติดต่อกับรถไฟมลายู  (มาเลเซีย)  จากธนบุรีไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์
นอกจากนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม   ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา  เชื่อมทางรถไฟทั้งปวงในพระราชอาณาจักรโดยโยงเข้ามาสู่ศูนย์กลางที่สถานีหัวลำโพง ได้ทรงตั้งกรมอากาศยานทหารบก เริ่มการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่างกรุงเทพฯ ได้ยังจันทบุรีเป็นครั้งแรกใน .๒๔๖๒

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง วชิรพยาบาล เมื่อ .๒๔๕๕   และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อ .๒๔๕๗   ใน .๒๔๖๕ ทรงเปิดสถานเสาวภา เพื่อให้ทำหน้าที่ช่วยชีวิตผู้ที่ถูกสัตว์ร้ายกัดและทำเชื้อป้องกันโรคระบาดเป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงด้วย

ด้านการปกครองและการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมืองชั่วคราวเพื่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาค  เปลี่ยนคำเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด  รวมมณฑลเป็นภาค  ทรงยกกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ  ทรงจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่  ทรงจัดตั้งเนติบัณฑิตยสภา และกรมมหรสพ

ใน .๒๔๕๔ (..๑๓๐ได้เกิดการคบคิดจะปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย  คณะผู้ก่อการปฏิวัติเป็นนายทหารหนุ่มกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่พอใจการปกครองระบอบราชาธิปไตยขณะนั้น  ต้องการเปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ทำการไม่สำเร็จ ถูกตัดสินลงโทษดังนี้

ผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตแล้วได้รับพระราชทานอภัยโทษเหลือตลอดชีวิต  คน  ผู้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตได้รับพระราชทานอภัยโทษเหลือจำคุก๒๐ ปี ๒๐ คน  ส่วนอีก ๖๘ คน  ให้รอลงอาญา ต่อมาผู้ที่ต้องโทษทั้งหมดนี้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน .๒๔๖๗

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับระบอบการปกครองนี้จากประเทศอังกฤษ  ในจดหมายเหตุรายวันของพระองค์ได้ทรงคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าเมืองไทยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน แต่พระองค์มิได้ทรงจัดดำเนินการในทันที  ได้ทรงให้ทดลองระบอบประชาธิปไตยทีละเล็กทีละน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับคนไทยและประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ทรงจัดตั้งThe new Republic (สาธารณรัฐใหม่)  ที่กรุงปารีส และเมืองมัง ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดาเดิม หลังที่สุดทรงทดลองระบอบประชาธิปไตยคือสร้างเมืองจำลองดุสิตธานีขึ้นเมื่อ .๒๔๖๑  ดุสิตธานีเดิมอยู่ในพระราชวังดุสิต ต่อมาได้ทรงย้ายไปที่พระราชวังพญาไท เมื่อ .๒๔๖๒

ดุสิตธานี เป็นเมืองจำลองเล็กๆ มี  อำเภอ  มีบ้านเรือนประมาณ ๓๐๐ หลัง มีถนนหนทาง  วัด ร้านค้า โรงเรียน โรงพยาบาล  สถานที่ประชุมพระราชวังและสวนสาธารณะ  เรื่องสำคัญที่สุดของเมืองประชาธิปไตยนี้คือการทดลองปฏิบัติตามวิถีทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย
ดุสิตธานีมีนคราภิบาลทำหน้าที่บริหาร  มีพรรคการเมือง  พรรค คือ พรรคแพรแถบสีน้ำเงิน  และพรรคแพรแถบสีแดงซึ่งมีความเห็นขัดแย้งกัน  มีหนังสือพิมพ์  ฉบับ เพื่อแถลงข่าวตลอดจนวิพากวิจารณ์กิจการในดุสิตธานีตามแนวประชาธิปไตย คือ ดุสิตสมิตรายสัปดาห์   ดุสิตสมัย  และดุสิตสักขี   ซึ่งออกรายวัน  ได้ทดลองให้มีการเลือกตั้ง  แบบ  คือ แบบเลือกนคราภิบาลโดยตรง  และแบบให้เลือกตั้งเชษฐบุรุษเหล่านั้น
ดุสิตธานีที่พระราชวังพญาไท ได้สลายตัวไปหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต เมื่อ .๒๔๖๘

ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่  พฤษภาคม .๒๔๕๔  มีความมุ่งหมายเพื่อฝึกอบรมข้าราชการ พ่อค้าคหบดี ให้ได้รับการฝึกหัดอย่างทหารซึ่งจะทำให้เป็นราษฎรที่มีคุณภาพที่มี มีวินัย เคารพกฎหมายบ้านเมืองและเพื่อปลุกใจให้มีความรักในพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา และเพื่อส่งเสริมความสามัคคี
เสือป่ามีหน้าที่ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความสงบทั่วไปในบ้านเมือง  เช่น ช่วยจับกุมคนร้าย  ช่วยเหลือเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ล้อมวงที่ประทับเมื่อเสด็จไปในที่เกิดซึ่งมีคนพลุกพล่านและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในด้านต่างๆ 
เสือป่ามี  พวกคือ กองเสือป่าหลวง และกองเสือป่ารักษาดินแดน กิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของเสือป่า คือ การซ้อมรบหรือประลองยุทธ์ซึ่งมักกระทำในต่างจังหวัด เช่น นครปฐม ราชบุรี ในการซ้อมรบใหญ่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงเป็นจอมทัพด้วยพระองค์เอง พระองค์ยังได้พระราชทานที่ดินเป็นที่ชุมนุมเสือป่าและลูกเสือ ที่เยกว่าสนามเสือป่าในปัจจุบัน  และสโมสรเสือป่าซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นร้านสหกรณ์พัฒนาในขณะนี้
ถึงแม้ว่ากองเสือป่าต้องเลิกล้มไปหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต  แต่พรราชดำริเกี่ยวกับการให้พลเรือนมีส่วนในการรักษาดินแดน มิได้สูญหายไป เนื่องจากได้มีการจัดตั้งกรมการรักษาดินแดนขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงกลาโหม เมื่อ .๒๔๙๑ ได้ดำเนินการฝึกหัดนักเรียนเตรียมอุดมศึกษา และนิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยให้มีความรู้ในวิชาการทหาร  มีความรู้และความสามารถในการรบเพื่อช่วยเหลือกำลังของกองทัพได้
นอกจากกองเสือป่าแล้ว พระองค์ยังทรงริเริ่มจัดตั้งกองลูกเสือ กองลูกเสือกองแรกจัดตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  คือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน เมื่อ .๒๔๕๔  เพื่อฝึกเยาวชนให้มีคุณสมบัติที่ดี  มีความสามัคคี ความมานะอดทนและเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นผู้ช่วยรบได้ในยามคับขัน ต่อมาได้ขยายกิจการไปทั่วประเทศ   ได้พระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลุกเสือว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์”  และยังได้ทรงแสดงคุณค่าของการเป็นลูกเสือไว้ในพระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่อง “หัวใจนักรบ” และ “ความดีมีไชย” 
กิจการลูกเสือไทยได้เจริญรุ่งเรืองเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองมาจนทุกวันนี้และได้มีวิวัฒนาการเป็นกองอาสารักษาดินแดน ลูกเสือชาวบ้าน และเนตรนารี  เป็นต้น

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เมื่อเกิดมหายุทธสงครามโลกครั้งที่   ขึ้นในทวีปยุโรป เมื่อ .๒๔๕๗  ประเทศเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี   บัลแกเรีย และตุรกีซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลางได้ทำสงครามกับกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ  ฝรั่งเศส  รุสเซีย เป็นผู้นำ  ต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ได้เข้าร่วมด้วย  ในตอนต้นของสงครามประเทศไทยได้ประกาศตนเป็นกลาง  แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม .๒๔๖๐  เพื่อรักษาสิทธิของประเทศ  และเพื่อความเที่ยวธรรมของโลกเป็นส่วนรวม  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย
การเข้าร่วมสงครามโลกในครั้งนั้นเป็นผลดีแก่ประเทศเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะผู้ชนะสงคราม  ประเทศไทยสามารถเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม        คือ สิทธิสภาพนอกอาณาเขตซึ่งแต่เดิม ถ้าคนต่างด้าวทำความผิดในประเทศไทยให้ศาลกลสุลของประเทศนั้นๆ พิจารณาคดีโดยใช้กฎหมายของชาติต่างด้าวนั้นๆ  ทั้งกงสุลของชาติต่างด้าวนั้นยังมีสิทธิควบคุมการพิจารณาและตัดสินคดีอีกด้วย  อีกเรื่องหนึ่ง คือการถูกจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทยสำหรับสินค้าต่างด้าวซึ่งทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบทางการค้าเป็นอันมาก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ ดร.ฟรานซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B Sayre) ชาวอเมริกันซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา           กัลยาณไมตรี  เป็นที่ปรึกษาราชการกระทรวงการต่างประเทศ   เป็นผู้มีอำนาจเต็มเดินทางปาเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นผลสำเร็จในระหว่าง .๒๔๖๙  มีผลทำให้ประเทศไทยพ้นสภาพการเสียเปรียบในด้านการศาลและสามารถเก็บภาษีอากรตามกฎหมายไทย
เนื่องมาจากการที่ประเทศไทยประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี และออสเตรีย ฮังการี โดยฝ่ายไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้เลิกการใช้ธงช้างเดิมซึ่งเป็นธงสีแดงมีรูปช้างเผือกตรงกลางเป็นธงชาติ  และทรงริเริ่มการใช้ธงชาติที่มี สี คือ สีแดง ขาว น้ำเงิน  ตามลักษณะธงชาติของประทศที่เป็นสัมพันธมิตรกับประเทศไทยได้ใช้อยู่เรียกว่า     “ธงไตรรงค์”  เริ่มตั้งแต่ ..๒๔๖๐  เป็นต้นมา
ดังนั้นเมื่อกองทหารไทยซึ่งมีพระยาชาญไชยฤทธิ์ (ผาด  เทพหัสดิน  อยุธยาสงครามโลกครั้งที่   กับฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรปเมื่อ ..๒๔๖๑  นั้น ธงไตรรงค์ของไทยก็ไปโบกสะบัดในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป เผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ
ทหารอาสาจำนวนหนึ่งซึ่งไปราชการสงครามครั้งนี้ได้เสียชีวิตลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่   ไว้เป็นอนุสรณ์สถานที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของท้องสนามหลวง  กรุงเทพมหานครเมื่อ .๒๔๖๒ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงวีรกรรมของบุคคลเหล่านั้นโดยกำหนดเป็นรัฐพิธีเป็นประจำทุกปีในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันสงครามโลกครั้งที่  ยุติ 

ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทะนุบำรุงและฟื้นฟูศิลปกรรมไทยทุกสาขา  และทรงส่งเสริมวัฒนธรรมไทย เพราะทรงตระหนักดีว่าศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงความเจริญรุ่งเรืองของชาติ
เนื่องจากทรงมีโอกาสทอดพระเนตรศิลปะการแสดงหลายสาขาในระหว่างประทับ  ต่างประเทศ  เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยจึงทรงส่งเสริมและอนุรักษ์นาฏศิลป์และการละครด้วยทรงประจักษ์ในคุณค่าศิลปะและวัฒนธรรมไทย  ใน ..๒๔๕๔  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหรสพขึ้นโดยรวมเอากรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมหรสพทั้งในด้านนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์มาไว้ที่กรมมหรสพที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ เช่น กรมโขน กรมปี่พาทย์มหาดเล็ก และกองเครื่องสายฝรั่งหลวง  เป็นต้น  และยังได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่งเพื่อใช้แสดงละคร
ในด้านจิตรกรรม ทรงส่งเสริมการวาดจิตรกรรมฝาผนัง เช่น ทรงให้ทดลองเขียนภาพเทพชุมนุม ในห้องพระเจ้า  พระที่นั่งพิมานปฐมในพระราชวังสนามจันทร์ก่อนที่จะนำไปวาดผนังพระวิหารทิศ  วัดพระปฐมเจดีย์ ทั้งยังทรงพระกรุณาให้หาผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศด้านจิตรกรรมและประติมากรรม ได้แก่ Carrado Feroci หรือที่รู้จักในนามนาม “ศิลปะพีระศรี”  เข้ามาเพื่อส่งเสริมให้ศิลปินไทยได้เรียนรู้ศิลปะสากลอันส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะไทย  ส่วนพระองค์นั้นทรงสนพระทัยในการวาดภาพล้อและไดทรงวาดภาพล้อไว้หลายชุด  รวมทั้งทรงวาดภาพล้อของข้าราชบริพารไว้เป็นอันมาก  ภาพฝีพระหัตถ์เหล่านี้ถ้าเป็นภาพล้อของผู้ใดนั้นก็จะขอซื้อในราคาสูง  เงินค่าจำหน่ายภาพทั้งหมดส่งเข้ามาสมทบทุนการกุศล  และภาพล้อทุกภาพก็จะนำไปลงพิมพ์ในหนังสือดุสิตสมิต
ด้านสถาปัตยกรรม ทรงพอพระราชหฤทัยรูปแบบอาคารทรงไทย  จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งแบบไทยหลังแรก  คือพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนาง  ใช้แสดงโขนและเป็นที่อบรมเสือป่า อาคารทรงไทยอื่นๆ  ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น  ได้แก่ อาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ตั้งแต่ยังเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  และตึกอักษรศาสตร์ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย       เป็นต้น

ด้านวัฒนธรรม   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นเมื่อ .๒๔๕๖  นับเป็นการเริ่มต้นที่คนไทยได้มีนามสกุลใช้  มีพระราชประสงค์ให้นามสกุลเป็นหลักของการสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันทางบิดาผู้ให้กำเนิด  เป็นศักดิ์ศรีและแสดงสายสัมพันธ์ในทางร่วมสายโลหิตของบุคคล  นามสกุลก่อให้เกิดความเป็นหมู่คณะ  ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างเครือญาติและทำให้เจ้าของสกุลสำนึกในความชั่วความดีและปฏิบัติตนดีเพื่อรักษาเกียรติของสกุลตนไว้  นามสกุลจึงนับเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ
นอกจากพระองค์เป็นผู้ให้กำเนิดนามสกุลแล้วยังได้พระราชทานนามสกุลแก่ผู้ที่ขอพระราชทานด้วย  โดยทรงกำหนดนามสกุลอย่างมีระเบียบแบบแผนทั้งด้านเชื้อสาย  อาชีพถิ่นฐานของแต่ละบุคคล   จำนวนนามสกุลพระราชทานทั้งหมดประมาณ ,๔๓๒  นามสกุล


หนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์

ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์  ได้ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่  ประเทศอังกฤษ  โดยทรงริเริ่มออกวารสารรายสัปดาห์สำหรับเด็กชื่อว่า The Screech  Owl  และได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องสำหรับเด็กไว้ในวารสารนี้ด้วย
พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีเป็นจำนวนนับพันและมีทุกประเภทวรรณศิลป์ ได้แก่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท  พระบรมราชานุศาสนีย์  เทศนาเสือป่า  นิทานบทชวนหัว  สารคดี บทความในหนังสือและร้อยกรอง นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษไว้หลายเรื่อง
พระนามแฝงที่ทรงใช้อยู่มีเป็นจำนวนมาก  เช่น ศรีอยุธยา  รามจิตติ  พันแหลม  อัศวพาหุ        เป็นต้น   พระราชนิพนธ์แต่ละเรื่องของพระองค์นอกจากให้สาระและความเพลิดเพลินแล้วยังเต็มไปด้วยสุภาษิตข้อคิดและคำคม   เป็นมรดกทางวรรณกรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน พระองค์ทรงใช้วรรณกรรมปลุกใจให้รักชาติรักความเป็นไทยอีกด้วย  เช่น ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องพระร่วงและโคลงสยามานุสสติ   เป็นต้น รัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูวรรณกรรมทุกประเภทของไทย
ในด้านส่งเสริมการแต่งหนังสือ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร  ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๓  กรกฎาคม .๒๔๕๗  งานสำคัญอย่างหนึ่งของวรรณคดีสโมสรคือการพิจารณายกย่องหนังสือประเภทต่างๆ  ที่แต่งได้ดีเยี่ยม  ปรากฏว่าบทละครพูดเรื่อง “หัวใจนักรบ”  บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง “มัทนะพาธา” และพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระนลคำหลวง”  เป็นพระราชนิพนธ์ของพระองค์ที่วรรณคดีสโมสรยกย่อง
ด้านงานหนังสือพิมพ์  ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทความสำคัญๆ ลงในหนังสือพิมพ์ เช่น “ยิวแห่งบูรพาทิศ”  ลงหนังสือพิมพ์ “สยามออกเซอร์เวอร์” และ “โคลนติดล้อ”  ลงในหนังสือพิมพ์  “กรุงเทพ   เดลิเมล์”  นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงใช่หนังสือพิมพ์เป็นสื่อทั้งในด้านให้ข่าวสาร  แสดงความคิดเห็น  และปลุกใจให้รักชาติ
นอกจากนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับแรกขึ้นเรียกว่า “พระราชบัญญัติสมุดเอกสารแลหนังสือพิมพ์ ..๒๔๖๕”  นับได้ว่าพระองค์เป็นทั้งนักประพันธ์ กวี และนักหนังสือพิมพ์ 


พระเกียรติคุณและพระบรมราชานุสรณ์


พระบรมรูปหุ่นใยแก้วพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบเต็มยศนายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกอังกฤษ
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวมีพระอัจฉริยภาพในด้านอักษรศาสตร์  ได้ทรงสร้างสรรค์มรดกทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมากให้ประชาชนชาวไทยได้อ่าน  และชื่นชมสืบทอดกันมา อีกทั้งทรงประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ  อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนและชาติไทยนานัปการ  จึงทรงได้รับการยกย่องเทิดพระเกียรติคุณด้วยพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า        ซึ่งหมายถึงมหาราชผู้เป็นจอมปราชญ์
องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ยกย่องพระองค์ในฐานะที่เป็นนักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละคร  ให้เป็นบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก กระทรวงศึกษาธิการได้จัดงานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ของวันพระบรมราชสมภพในวันที่  มกราคม.๒๕๒๔  เพื่อเฉลิมพระเกียรติ  พร้อมกันนี้ได้จัดตั้งอาคารหอวชิราวุธานุสรณ์ซึ่งสร้างขึ้นในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เพื่อรวบรวมพระราชนิพนธ์และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ไว้ให้ประชาชนทั่วไปศึกษาค้นคว้าและวิจัยวรรณกรรมเหล่านั้นได้โดยสะดวก  ทั้งยังเป็นที่จัดแสดงละครพระราชนิพนธ์และเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย  นับเป็นพระบรมราชานุสรณ์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาติไทย
หอวชิราวุธานุสรณ์ ได้จัดแสดงพระบรมรูปหุ่นใยแก้ว (Fiber Glass) ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่สำคัญแก่ประเทศรวม ๑๑ พระองค์ไว้  พระบรมราชะประทรรศนีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  (The Royal Exhibition of King Vajiravudh) ชั้น  ของอาคาร
แก้ไขล่าสุด ( วันอังคารที่ 03 มีนาคม 2009 เวลา 09:36 น. ) 


http://www.phyathaipalace.org/main/index.php/2009-02-16-02-45-22/2009-02-19-05-56-10?showall=1William Shakespeare (1564-1616), `The Bard of Avon', English poet and playwright wrote the famous 154 Sonnets and numerous highly successful oft quoted dramatic works including the tragedy of the Prince of Denmark, Hamlet;

"Neither a borrower nor a lender be;
For loan oft loses both itself and friend,
And borrowing dulls the edge of husbandry.
This above all: to thine ownself be true,
And it must follow, as the night the day,
Thou canst not then be false to any man.
Farewell: my blessing season this in thee!"

--Lord Polonius, Hamlet Act I, Scene 3

While Shakespeare caused much controversy, he also earned lavish praise and has profoundly impacted the world over in areas of literature, culture, art, theatre, and film and is considered one of the best English language writers ever. From the Preface of the First Folio (1623) "To the memory of my beloved, The Author, Mr. William Shakespeare: and what he hath left us"--Ben Jonson;












บทละคอนพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา เมื่อ เสาร์, 11/09/2010 - 23:21 | แก้ไขล่าสุด อาทิตย์, 19/09/2010 - 10:57| โดย sss27639 บมละครพูดที่ได้ยกตัวอย่างมาให้ได้ศึกษาเป็นภาคบนสวรรค์ตอนที่สุเทษณ์เทพได้ขอความรักจากนางมัทนาแต่นางยังยืนกรานปฏิเสธทำให้สุเทษณ์โมโหสาปนางให้ลงมาเกิดโลกบนโลกมนุษย์เป็นดอกกุหลาบและกลายร่างเป็นมนุษย์ได้ตอนคืนวันเพ็ญ เหตุการณ์นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวความรักอันเป็นตำนานแห่งดอกกุหลาบ บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา องก์ที่ ๑ (มายาวินประนมมือและนั่งบริกรรม, พิณพาทย์ทำเพลงตระสันนิบาต. ทุกๆคนตั้งตาคอยมองดู พอถึงรัวท้ายตระ มัทนาเดินออกมา, ตาจ้องเป๋งไม่แลดูใคร และกิริยาอาการเป็นอย่างคนที่ยังหลับอยู่, และพูดหรือแสดงกิริยาอย่างคนที่ฝัน. สุเทษณ์ลุกจากบัลลังก์ลงมาต้อนรับด้วยความยินดี, แต่ครั้นเห็นมัทนาจังงังอยู่ ไม่ยิ้มแย้มก็ชะงัก, แล้วหันไปพูดกับมายาวิน.) [สุรางคณา, ๒๘.] สุเทษณ์ นางมาแล้วไซร้ แต่ว่าฉันใด จึ่งไม่พูดจา มายาวิน นางยังงงงวย ด้วยฤทธิ์มนตรา,แต่ว่าตูข้า จะแก้บัดนี้ (พูดสั่งมัทนา) ดูก่อนสุชาตา มะทะนาวิไลศรี ยามองค์สุเทษณ์มี วรพจน์ประการใด, นางจงทำนูลตอบ มะธุรสธตรัสไซร้ ; เข้าใจมิเข้าใจ ฤก็ตอบพะจีพลัน. มัทนา เข้าใจละเจ้าข้า, ผิวะองค์สุเทษณ์นั้น ตรัสมาดิฉันพลัน จะเฉลยพระวาที [วสันตะดิลก, ๑๔.] สุเทษณ์ อ้าโฉมวิไลยะสุปริยา มะทะนาสุรางค์ศรี, พี่รักและกอบอภิระตี บมิเว้นสิเน่ห์นัก ; บอกหน่อยเถิดว่าดะรุณิเจ้า ก็จะยอมสมัครรัก. มัทนา ตูข้าสมัครฤมิสมัคร ก็มิขัดจะคล้อยตาม สุเทษณ์ จริงฤานะเจ้าสุมะทะนา วจะเจ้าแถลงความ? มัทนา ข้าขอแถลงวะจะนะตาม สุระเทวะโปรดปราน สุเทษณ์ รักจริงมิจริงฤก็ไฉน อรไทบ่แจ้งการ? มัทนา รักจริงมิจริงก็สุระชาญ ชยะโปรดสถานใด? สุเทษณ์ พี่รักและหวังวธุจะรัก และบทอดบทิ้งไป. มัทนา พระรักสมัครณพระหทัย ฤจะทอดจะทิ้งเสีย? สุเทษณ์ ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย มัทนา ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ? สุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บมิตอบพะจีพอ? มัทนา โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี! สุเทษณ์ เสียแรงสุเทษณ์นะประดิพัทธ์ มะทะนาบเปรมปรีดิ์. มัทนา แม้ข้าบเปรมปฺริยะฉะนี้ ผิจะโปรดก็เสียแรง สุเทษณ์ โอ้รูปวิไลยะศุภะเลิศ บมิควรจะใจแข็ง มัทนา โอ้รูปวิไลยะมละแรง ละก็จำจะแข็งใจ (สุเทษณ์จ้องดูนาง, แต่นางยังคงตาลอยไม่จับตาอยู่, สุเทษณ์ออกฉงน, จึ่งลองพูดไปอีก.) สุเทษณ์ หากพี่จะกอดวธุและจุม- พิตะเจ้าจะว่าไร? มัทนา ข้าบทาจะขัดฤก็มิได้ ผิพระองค์จะทรงปอง สุเทษณ์ ว่าแต่จะเต็มฤดิฤหาก ดนุกอดและจูบน้อง? มัทนา เต็มใจมิเต็มใจดนูก็ต้อง ปฏิบัติระเบียบดี. (สุเทษณ์ไม่พอใจในคำตอบของนาง, จึ่งหันไปพูดกับมายาวิน) [สุรางคณา,๒๘.] สุเทษณ์ แน่ะมายาวิน เหตุใดยุพิน จึ่งเป็นเช่นนี้? ดูราวมะเมอ เผลอเผลอฤดี ประดุจไม่มี ชีวิตจิตใจ, คราใดเราถาม หล่อนก็ย้อนความ เหมือนเช่นถามไป, ดังนี้จะยวน ชวนเชยฉันใด ก็เปรียบเหมือนไป พูดกับหุ่นยนต์. มายาวิน เทวะ,ที่นาง อาการเป็นอย่าง นี้เพราะฤทธิ์มนตร์; โยคะอันขลัง บังคับได้จน ให้ตอบยุบล ได้ตามต้องการ แต่จะบังคับ ใครใครให้กลับ มโนวิญญาณ, ให้ชอบให้ชัง ยืนยังอยู่นาน ย่อมจะเป็นการ สุดพ้นวิสัย หากว่าพระองค์ มีพระประสงค์ อยู่เพียงจะให้ นงคราญฉลอง รองพระบาทไซร้ ข้าอาจผูกใจ ไว้ด้วยมนตรา. มิให้นงรัตน์ ดื้อดึงขึงขัด ซึ่งพระอัชฌา, บังคับให้ยอม ประนอมเป็นข้า บาทบริจา ริกาเทวัญ. สุเทษณ์ อ๊ะ! เราไม่ขอ ได้นางละหนอ โดยวิธีนั้น! เสียแรงเรารัก สมัครใจครัน อยากให้นางนั้น สมัครรักตอบ. ผูกจิตรด้วยมนตร์ ล้วตามใจตน ฝ่ายเดียวมิชอบ เราไฝ่ละโบม ประโลมใจปลอบ ให้นางนึกชอบ นึกรักจริงใจ ฉะนั้นท่านครู คายเวทมนตร์ดู อย่าช้าร่ำไร, หากเราโชคดี ครั้งนี้คงได้ สิทธิ์สมดังใจ; รีบคลายมนตรา. มายาวิน เอวํ เทวะ. (มายาวินประนมมือแล้วร่ายมนตร์ต่อไปนี้) [วิชฺชุมาลา, ๘.] มายาวิน อันเวทอาถรรพณ์ ที่พันผูกจิต แห่งนางมิ่งมิตร อยู่บัดนี้นา, จงเคลื่อนคลายฤทธิ์ จากจิตกัญญา คลายคลายอย่าช้า สวัสดีสวาหาย! (มายาวินยกมือไหว้ แล้วเสกเป่าไปทางมัทนา. ฝ่ายมัทนาค่อยๆรู้สึกตัว, เอามือลูบตาเหมือนคนตื่นนอน, ได้สติบริบูรณ์. บัดนี้ นางเหลียวแลไปเห็นสุเทษณ์ก็ตกใจ,ตั้งท่าเหมือนจะหนีไป, แต่สุเทษณ์ขวางทางไว้) สุเทษณ์ อ้ามัทนาโฉมฉาย เฉิดช่วงดังสาย วิชชุประโชติอัมพร ไหนไหนก็เจ้าสายสมร มาแล้วจะร้อน จะรนและรีบไปไหน? มัทนา เทวะ,อันข้านี้ไซร้ มานี่อย่างไร บทราบสำนึกสักนิด; จำได้ว่าข้าสถิต ในสวนมาลิศ และลมรำเพยเชยใจ, แต่อยู่ดีดีทันใด บังเกิดร้อนใน อุระประหนึ่งไฟผลาญ, ร้อนจนสุดที่ทนทาน แรงไฟในราน ก็ล้มลงสิ้นสมฤดี. ฉันใดมาได้แห่งนี้? หรือว่าได้มี ผู้ใดไปอุ้มข้ามา? ขอพระองค์จงเมตตา และงดโทษข้า ผู้บุกรุกถึงลานใน. สุเทษณ์ อ้าอรเอกองค์อุไร พี่จะบอกให้ เจ้าทราบคดีดังจินต์; พี่เองใช้มายาวิน ให้เชิญยุพิน มาที่นี้ด้วยอาถรรพณ์ มัทนา เหตุใดพระองค์ทรงธรรม์ จึ่งทำเช่นนั้น ให้ข้าพระบาทต้องอาย แก่หมู่ชาวฟ้าทั้งหลาย? โอ้พระฦาสาย พระองค์จงทรงปรานี. (มัทนาร้องไห้. พิณพาทย์ทำเพลงโอด. สุเทษณ์ปลอบ.) [อินทวงส์, ๑๒.] สุเทษณ์ อ้ายอดสิเนหา มะทะนาวิสุทธิศรี, อย่าทรงพระโศกี วรพักตร์จะหม่นจะหมอง. พี่นี้นะรักเจ้า และจะเฝ้าประคับประคอง คู่ชิดสนิทน้อง บ่มิให้ระคางระคาย. พี่รักวะธุนวล บ่มิควรระอาละอาย, อันนาริกับชาย ฤก็ควรจะร่วมจะรัก. รูปเจ้าวิไลราว สุระแสร้งประจิตประจักษ์, มิควรจะร้างรัก เพราะพะธูพิถีพิถัน; ธาดาธสร้างองค์ อรเพราะพิสุทธิสรรพ์ ไว้เพื่อจะผูกพัน ธนะจิตตะจองฤดี. อันพี่สิบุญแล้ว ก็เผอิญประสบสุรี และรักสมัครมี มนะมุ่งทะนุถนอม. ขอโฉมเฉลาปลง พระฤดีประนีประนอม. รับรักและยินยอม ดนุรักสมัครสมาน. หากนางมิข้องขัด ประดิพัทธ์ประสมประสาน ทั้งสองจะสุขนาน มนะจ่อบจืดบจาง. อ้าช่วยระงับดับ ทุขะพี่ระคายระคาง; พี่รักอนงค์นาง ผิมิสมฤดีถวิล เหมือนพี่มิได้คง วรชีวะชีวิติน- ทรีย์ไซร้บ่ไฝ่จิน- ตะนะห่วงและห่อนนิยม. ชีพอยู่ก็เหมือนตาย, เพราะมิวายระทวยระทม ทุกข์ยากและกรากกรม อุระช้ำระกำทวี อ้าฟังดนูเถิด มะทะนาและตอบวจี พอให้ดนูนี้ สุขะรื่นระเริงระรวย [วสันตะดิลก, ๑๔.] มัทนา ฟังถ้อยดำรัสมะธุระวอน ดนุนี้ผิเอออวย. จักเป็นมุสาวะจะนะด้วย บมิตรงกะความจริง. อันชายประกาศวะระประทาน ประดิพทธะแด่หญิง, หญิงควรจะเปรมกะมะละยิ่ง ผิวะจิตตะตอบรัก; แต่หากฤดีบอะภิรมย์ จะเฉลยฉะนั้นจัก เป็นปดและลวงบุรุษะรัก ก็จะหลงละเลิงไป. ตูข้าพระบาทสิสุจริต บมิคิดจะปดใคร, จึ่งหวังและมุ่งมะนะสะใน วรเมตตะธรรมา. อันว่าพระองค์กรุณะข้อย ฤก็ควรจะปรีดา, อีกควรฉลองวรมหา กรุณาธิคุณครัน; ดังนี้คะนึงฤก็ระบม อุระแห่งกระหม่อมฉัน, ที่ตนบอาจจะอภิวัน- ทะนะตอบพระวาจา ให้ถูกประดุจสุระประสงค์, ผิวะทรงพระโกรธา, หมฺ่อมฉันก็โอนศิระณบา- ทะยุคลและกราบกราน. [อินทวงศ์, ๑๒.] สุเทษณ์ ที่หล่อนมิยินยอม มะนะรักสมัครสมาน, มีคู่สะมรมาน อภิรมย์ฤเป็นไฉน? [วสันตะดิลก, ๑๔.] มัทนา หม่อมฉันบมีบุรุษผู้ ประดิพัทธะใดใด, เป็นโสดบมีมะนะสะใฝ่ อภิรมย์ฤสมรส. [อินทวงศ์, ๑๒.] สุเทษณ์ เช่นนั้นก็เชิญฟัง ดนุกล่าวสิเนหะพจน์, เจ้างามประเสริฐหมด ก็มิควรจะฤดีจะดำ. [วสันตะดิลก, ๑๔.] มัทนา หม่อมฉันสดับมะธุระถ้อย ก็สำนึกเสนาะคำ, แต่ต้องทำนูลวะจะนะซ้ำ ดนุจะได้ทำนูลมา. [อินทวงศ์, ๑๒.] สุเทษณ์ นี่เจ้ามิยอมรับ รสะรักฉะนั้นฤจ๋า? ตัวฉันจะเลวสา- หะสะด้วยประการไฉน? [วสันตะดิลก, ๑๔.] มัทนา อ้าองค์พระผู้สุระวิศิษฏ์, พระจะผิดสะถานใด? หม่อมฉันสิทรามเพราะบ่มิได้ อนุวัตน์พระบัณฑูร. [อินทวงศ์, ๑๒.] สุเทษณ์ ยิ่งฟังพะจีศรี ก็ระตีประมวลประมูล, ยิ่งขัดก็ยิ่งพูน ทุขะท่วมระทมหะทัย! อ้าเจ้าลำเพาพักตร์ สิริลักษณาวิไล, พี่จวนจะคลั่งไคล้ สติเพื่อพะวงอนงค์. [วสันตะดิลก, ๑๔.] มัทนา โอ้โอ๋ละเหี่ยอุระสดับ วรศัพทะท่านทรง อ้อยอิ่งแสดงวรประสง- คะณตัวกระหม่อมฉัน; อยากใคร่สนองพระวรสุน- ทรคุณอเนกนั้น, จนใจเพราะผิดคติสุธรรม์ สุจริตประติชฺญา. ขอให้พระองค์อะมะระเท- วะเสวยประโมทา, หม่อมฉันจะขอประณตะลา สุระราชลิลาศไป. (มัทนากราบแล้วตั้งท่าจะไป, แต่สุเทษณ์จับข้อมือไว้ด้วยกิริยาออกจะโกรธ.) [ฉบงง, ๑๖.] สุเทษณ์ ช้าก่อน! หล่อนจะไปไหน? มัทนา หม่อมฉันอยู่ไป ก็เครื่องแต่ทรงรำคาญ สุเทษณ์ ใครหนอบอกแก่นงคราญ ว่าพี่รำคาญ? มัทนา หม่อมฉันสังเกตเองเห็น. สุเทษณ์ เออ! หล่อนนี้มาล้อเล่น อันตัวพี่เป็น คนโง่ฤาบ้าฉันใด? มัทนา หม่อมฉันเคารพเทพไท ทูลอย่างจริงใจ ก็บมิทรงเชื่อเลย, กลับทรงดำรัสตรัสเฉลย ชวนชักชมเชย และชิดสนิทเสนหา. พระองค์ทรงเป็นเทวา ธิบดีปรา กฏเกียรติยศเกรียงไกร, มีสาวสุรางค์นางใน มากมวลแล้วไซร้ ในพระพิมานมณี, จะโปรดปรานข้าบาทนี้ สักกี่ราตรี? และเมื่อพระเบื่อข้าน้อย, จะมิต้องนั่งละห้อย นอนโศกเศร้าสร้อย ชะเง้อชะแง้แลหรือ? หม่อมฉันนี้เป็นผู้ถือ สัจจาหนึ่งคือ ว่าแม้มิรักจริงใจ, ถึงแม้จะเป็นชายใด ขอสมพาสไซร้ ก็จะมิยอมพร้อมจิต. ดังนี้ขอเทพเรืองฤทธิ์ โปรดข้าน้อยนิด, ข้าบาทขอบังคมลา. [กมล, ๑๒.] สุเทษณ์ (ตวาด) อุเหม่! มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชิช่างจำนรรจา, ตะละคำอุวาทา ฤกระบิดกระบวนความ. ดนุถามเจ้าก็ไซร้ บมิตอบณคำถาม, วนิดาพยายาม กะละเล่นสำนวนหวน. ก็และเจ้ามิเต็มจิต จะสดับดนูชวน, ผิวะให้อนงค์นวล ชนะหล่อนทะนงใจ. บ่มิยอมจะร่วมรัก และสมัครสมรไซร้, ก็ดะนูจะยอมให้ วนิดานิวาสสวรรค์ ผิวะนางเผอิญชอบ มรุอื่นก็ข้าพลัน จะทุรนทุรายศัล- ยะบ่อยากจะยินยล; เพราะฉะนั้นจะให้นาง จุติสู่ณแดนคน, มะทะนาประสงค์ตน จะกำเนิดณรูปใด? ทวิบทจะตูร์บาท ฤจะเป็นอะไรไซร้, วธุเลือกจะตามใจ และจะสาปประดุจสรร; จะสถิตฉะนั้นกว่า จะสำนึกณโทษทัณฑ์ และผิวอนดนูพลัน จะประสาทพระพรให้ วนิดาจรัลกลับ ณ ประเทศสุราลัย; ก็จะชอบสะถานใด วธุตอบดนูมา. [สาลินี, ๑๑.] มัทนา อ้าเทพศักด์สิทธิ์ซึ่ง พระจะลงพระอาญา ข้าเป็นแต่เพียงข้า บมิมุ่งจะอวดดี. หม่อมฉันนี่อาภัพ และก็โชคบ่พึงมี, จึ่งไม่ได้รองศรี วรบาทพระจอมแมน. อันทรงเมตตาควร จะประจบและตอบแทน คุณท่านที่มากแสน คณนาประมวลมี. อันโปรดให้เลือกตาม ฤดิข้าณบัดนี้, ขอเป็นซึ่งมาลี รุจิเรขวิไลวรรณ, สุดแท้แต่จอมสรวง จะประสิทธิ์ประสาทพันธุ์ ขอเพียงให้มีคัน- ธะระรื่นระรวยหอม. ด้วยกลิ่นของข้าบาท ก็จะได้ประณตน้อม ใจนิตย์บูชาจอม สุระบ่มบำเพ็ญบุญ, ข้าขอแต่เพียงให้ มรุทรงพระการุญ. ให้ข้าได้ทำคุณ และประโยชน์บ่อยู่หมัน. [ฉบงง, ๑๖.] สุเทษณ์ ที่เจ้างอนง้อข้อนั้น เราจะยอมสรร- พะสิทธิดังใจจนต์. ดูราท่านมายาวิน, นางนี้ถวิล จะถือรูปเป็นมาลี. ก็บุปผาอย่างใดมี ที่งามทั้งสี อีกทั้งมีกลิ่นส่งไกล? แต่ต้องให้มีหนามไว้ ป้องกันมิให้ เหล่าเดรัจฉานผลาญยับ. มายาวิน เทวะ! อันไม้งามสรรพ มีลักษณ์ต้องกับ พระองค์ดำรัสนั้นมี ในนันทะโนทยานศรี, องค์พระศจี ธโปรดเป็นยอดมาลา. เห็นมีแต่ในฟากฟ้า, ในแดนคนหา ไม้นี้มิได้แห่งไหน. สุเทษณ์ ไม้นี้มีนามฉันใด? ท่านจงเล่าให้ เราทราบซึ่งลักษณ์แถลง. [อินทะวิเชียร, ๑๑.] มายาวิน ไม้เรียกผะกากุพฺ- ชะกะสีอรุณแสง ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณีณยามอาย; ดอกใหญ่และเกสร สุวคนธะมากมาย, อยู่ทนบวางวาย มธุรสขจรไกล; อีกทั้งสะพรั่งหนาม ดุจะเข็มประดับไว้ ผึ้งเขียวสิบินไขว่ บมิใคร่จะห่างเหิน. อันกุพฺชะกาหอม บริโภคอร่อยเพลิน, รสหวานสิหวานเชิญ นรลิ้มเพราะเลิศรส; กินแล้วระงับตรี พิธะโทษะหายหมด, คือลมและดีลด ทุษะเสมหะเสื่อมสรรพ์; อีกทั้งเจริญกา- มะคุณาภิรมย์นันท์, เย็นในอุราพลัน, และระงับพยาธี. [ฉบงง, ๑๖.] สุเทษณ์ ดีละ, จะให้มารศรี เป็นดอกไม้นี้ โฉมยงจะว่าฉันใด? มัทนา ไหนไหนจะเป็นดอกไม้, หม่อมฉันพอใจ เป็นดอกที่ออกนามมา. ข้าขอก้มเกศวันทา ที่จอมเทวา การุญให้เลือกเช่นนี้. สุเทษณ์ ด้วยอำนาจอิทธิ์ฤทธี อันประมวลมี ณ ตัวกูผู้แรงหาญ, กูสาปมัทนานงคราญ ให้จุติผ่าน ไปจากสุราลัยเลิศ, สู่แดนมนุษย์และเกิด เป็นมาลีเลิศ อันเรียกว่ากุพฺชะกะ, ให้เป็นเช่นนั้นกว่าจะ รู้สึกอุระ ระอุเพราะรักรึงเข็ญ. ทุกเดือนเมื่อถึงวันเพ็ญ ให้นางนี้เป็น มนุษย์อยู่กำหนดมี เพียงหนึ่งทิวาราตรี; แต่หากนางมี ความรักบุรุษเมื่อใด. เมื่อนั้นแหละให้ทรามวัย คงรูปอยู่ไซร้ บคืนกลับเป็นบุปผา. หากรักชายแล้วมัทนา บมีสุขา ภิรมย์เพราะเริดร้างรัก, และนางเป็นทุกข์ยิ่งนัก จนเหลือที่จัก อดทนอยู่อีกต่อไป, เมื่อนั้นผิวาอรทัย กล่าววอนเราไซร้ เราจึ่งจะงดโทษทัณฑ์. [จิตระปทา, ๘.] นางมทะนา จุติอย่านาน จงมะละฐาน สุระแมนสวรรค์, ไปเถอะกำเนิด ณ หิมาวัน ดั่งดนุลั่น วจิสาปไว้! (พิณพาทย์ทำเพลงคุกพาทย์, สุเทษณ์แผลงฤทธิ์, ฟ้าแลบแวววาววาบตลอดเพลง. พอถึงรัวท้าย มัทนาร้องกรี๊ดและล้มลงกับพื้น)













Cameron Weighs EU Referendum

Prime Minister David Cameron has suggested he could call a referendum on the UK's relationship with Europe.
In an article for The Sunday Telegraph, he acknowledged that the country's position within an evolving European Union must have "the full-hearted support of the British people".
But he insisted that the vast majority of the public did not support an immediate referendum on whether Britain should be in or out.
Nearly 100 Conservative MPs have written to Mr Cameron urging him to make it a legal commitment to hold a poll on the EU during the next parliament but Mr Cameron was cautious about how the issue would be put to people.
He said: "There is more to come - further moves, probably further treaties - where we can take forward our interests, safeguard the single market and stay out of a federal Europe.

"How do we take the British people with us on this difficult and complicated journey? How do we avoid the wrong paths of either meekly accepting the status quo or giving up altogether and preparing to leave?

"It will undoubtedly be hard going, but taking the right path in politics often is.
"As we get closer to the end point we will need to consider how best to get the full-hearted support of the British people, whether it is in a general election or a referendum.
"As I have said, for me the two words 'Europe' and 'referendum' can go together, particularly if we really are proposing a change in how our country is governed, but let us get the people a real choice first."
Mr Cameron's article in the newspaper comes after an EU summit called to tackle the eurozone crisis moved the bloc towards closer ties.
After the meeting, he told reporters he was not in favour of an in/out referendum leading some to believe he was ruling out a popular vote altogether

Poetry

It is generally agreed that most of the Shakespearean Sonnets were written in the 1590s, some printed at this time as well. Others were written or revised right before being printed. 154 sonnets and "A Lover's Complaint" were published by Thomas Thorpe as Shake-speares Sonnets in 1609. The order, dates, and authorship of the Sonnets have been much debated with no conclusive findings. Many have claimed autobiographical details from them, including sonnet number 145 in reference to Anne. The dedication to "Mr. W.H." is said to possibly represent the initials of the third earl of Pembroke William Herbert, or perhaps being a reversal of Henry Wriothesly's initials. Regardless, there have been some unfortunate projections and interpretations of modern concepts onto centuries old works that, while a grasp of contextual historical information can certainly lend to their depth and meaning, can also be enjoyed as valuable poetical works that have transcended time and been surpassed by no other.

Evoking Petrarch's style and lyrically writing of beauty, mortality, and love with its moral anguish and worshipful adoration of a usually unattainable love, the first 126 sonnets are addressed to a young man, sonnets 127-152 to a dark lady. Ever the dramatist Shakespeare created a profound intrigue to scholars and novices alike as to the identities of these people.




http://www.online-literature.com/shakespeare/

http://hudsonshakespeare.org/Shakespeare%20Library/Main%20Pages/mainloverscomplaint.htm

I work in many fields of professional careers in nurse, law and psychology supporting..Not only adolescence but all age..now I have some consult and criticize about social ,psychology, political and economic blog in my website...below are some of my blog at www.aspirationlaw.blogspot.com www.birdmydog.blogspot.com www.aspirationlaw.com www.aspirationlaw.net www.birdmydog.com